มีใครเคยรู้สึกผิดหลังจากที่กินเค้กไปก้อนโตๆ บ้างไหมครับ ลองมาดูข้อมูลที่ทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายไว้อย่างมีเหตุผล และทำให้เรากินของหวานในมื้อต่อไปได้อย่างสบายใจขึ้นครับ
ของหวาน (บางอย่าง) สำหรับมื้อเช้า ถือว่าเป็นอาหารหลักเพื่อสุขภาพ
หลายๆ คนตอนยังเด็กๆ หรือแม้แต่ทุกวันนี้อาจจะได้ยินแม่เราพูดบ่อยๆ ว่าอย่างเพิ่งกินขนมหวาน หรือของหวาน จนกว่าเราจะกินข้าว กินผัก หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดูเหมือนจะเป็นอาหารมื้อหลักๆ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณแม่เราอาจจะต้องตกใจเป็นแน่
จากการวิจัยของ Tel Aviv University ได้ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 200 คน ให้รับประทานอาหารที่ มีแคลลอรี่ต่ำ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 100 คน กลุ่มแรกให้ทานอาหารเช้าที่มีพลังงาน 600 แคลลอรี่ ซึ่งประกอบไปด้วย คุกกี้, เคก, หรือ โดนัท ในขณะอีกกลุ่มให้ทานอาหารที่มีพลังงานเพียง 300 แคลลอรี่ ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนล้วนๆ ได้แก่ ทูน่า, ไข่ขาว, ซีส และนม
ผลของการวิจัยออกมาว่า กลุ่มแรก ที่ทานของหวาน มีความรู้สึกต้องการอาหาร หรือมีความหิว ระหว่างวันลดลง และแน่นอนทั้งสองกลุ่มตัวอย่างน้ำหนักลดเหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า สาเหตุที่กลุ่มแรกน้ำหนักลดได้เนื่องจาก การรับประทานอาหารที่มีปริมาณ แคลลอรี่สูงในช่วงเช้า เป็นการให้พลังงานกับร่างกายตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงสิ้นสุดของวัน โดยที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องการพลังงานเพิ่มอีก แต่ทั้งนี้ของหวานที่รับประทานควรเป็นของหวานที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วงแบบไทยๆ หรือแพนเคกกล้วยหอมลาดน้ำผึ้งอย่างฝรั่งๆ ก็ไม่เลวนะครับ แต่ควรงดเว้นของหวานที่มีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัว น้ำตาลทรายที่มากเกินไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรทานให้อยู่ในประมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปครับ ส่วนเหตุผลข้อต่อไป สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ 8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 2)
ที่มา : http://www.rd.com/health/healthy-eating/reasons-eat-dessert/
ที่มา : http://www.rd.com/health/healthy-eating/reasons-eat-dessert/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น