หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 3)


ข้อที่สาม ของหวานสามารถช่วยกระตุ้นความโรแมนติกได้

        ของหวานบางชนิดมีสารกรตุ้นที่เปรียบเหมือนเป็นยาโดป ตัวอย่างเช่น พายฟักทอง ในฟักทองประกอบไปด้วยสังกะสีที่เป็นตัวช่วยในการเพิ่มระดับฮอร์โมน testosterone จากการศึกษาของ Smell and Taste Treastment Research Center ใน Chicago พบว่า พายฟักทอง ช่วยการไหลเวียนเลือดในอวัยวะเพศชาย และยังลดความกังวลต่างๆ ทั้งในผู้ชาย และ ผู้หญิง นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า Dark Chocolate ดูจะมีอะไรที่มากกว่านั้น  ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Sexual Medicine พบว่า ผู้หญิงที่ชื่นชอบการทานช็อกโกแล็ตทุกวัน มีความสุขในกิจกรรมทางเพศมากกว่าคนที่ไม่ทานเลย พออ่านถึงตรงนี้แล้วลองไปหาของหวานมาทานกันดูนะครับ 

โปรติดตามตอนต่อไปของประโยชน์ของของหวานนะครับ ยังเหลืออีก 5 ข้อ


ที่มา : http://www.rd.com/health/healthy-eating/reasons-eat-dessert/

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 2)

เหตุผลข้อที่สอง ของหวานสามารถช่วยลดความดันเลือดได้




             สำหรับคนที่ชอบทานซ็อกโกแล็ต คงจะดีใจไม่น้อยเพราะ เพียงแค่ทานซ็อกโกแล็ตชิ้นเล็กๆ ทุกวันสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันได้  ในปี ค.ศ. 2011 Harvard ได้ศึกษาการรับประทาน Dark Chocolate ชิ้นเล็กๆ ทุกวัน เพื่อลดความดันในเส้นเลือด ในกลุ่มตัวอย่าง 1,106 คน ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะในซ็อกโกแล็ตที่เต็มไปด้วยโกโก้ (ที่มีเฉพาะใน Dark Chocolate) ที่อุดมไปด้วย Flavonoids , สาร antioxidant ที่ช่วยลดความเครียด และมีประโยคต่อระบบภูมิคุ้มกัน

         ทั้งนี้ทั้งนั้น  Love Food & Health ขอแนะนำว่าควรจะรับประทานเฉพาะ Dark Chocolate เท่านั้นเพราะไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ซึ่งมักจะผสมอยู่กับซ็อกโกแล็ตทั่วๆไป

8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน  ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 3)


ที่มา : http://www.rd.com/health/healthy-eating/reasons-eat-dessert/

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ธาตุทั้ง 4 (ตอนที่ 2)

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรปรับธาตุทั้ง 4
จากตอนที่ 1 ตามปกติแล้วร่างกายของคนเราประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแต่ละธาตุจะมีกำลังแตกต่างกันไป ดังนี้คือ

  • ธาตุดิน มีกำลัง 21
  • ธาตุน้ำ มีกำลัง 12
  • ธาตุลม มีกำลัง 6
  • ธาตุไฟ มีกำลัง 4
ถ้าร่างกายของเรามีกำลังธาตุครบตามจำนวนที่กล่าวมานี้ ถือว่าเรามีความสมดุลของธาตุทั้ง 4 จะไม่มีอาการเจ็บป่วย แต่ถ้าเมื่อรู้สึกเจ็บป่วยไม่สบาย นั้นแสดงว่าธาตุทั้ง 4 เริ่มไม่สมดุล ซึ่ง แพทย์แผนโบราณเรียกอาการนี้ว่าอาการ "ขาดธาตุ" หรือ "ธาตุอ่อน" ก่อนที่แพทย์แผนโบราณจะรักษาผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจเช็คกำลังธาตุของคนป่วยก่อนว่ามีกำลังธาตุของแต่ละธาตุเป็นอย่างไร กำลังธาตุไหนอ่อนมาก อ่อนน้อย หลังจากนั้นจึงจะปรุงยาเพื่อปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลก่อน แล้วจึงทำการรักษาโรคตามอาการต่อไป 


ทำไมถึงต้องทำการปรับธาตุให้สมดุลก่อนรักษา
การปรับสมดุลธาตุถือเป็นขั้นตอนพื้นธาตุในการรักษาโรค ทั้งนี้ขออ้างอิงข้อความจากหนังสือหนังสืออโรคยา คาถารักษาโรคและสมุนไพรใกล้ตัว "พ่อเที่ยงกล่าวว่า คนป่วยที่ได้รับการปรับสมดุลธาตุก่อนทำการรักษาจะทำให้การรักษานั้นได้ผลเร็วและมีประสิทธิผลมากขึ้น คนป่วยที่ไม่ได้รับการปรับธาตุ บางคนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหมอให้ยามารับประทานที่บ้านพอที่จะหายได้แล้ว แต่กลับไม่หายขาด หรือเป็นๆ หายๆ อาการเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากธาตุไม่สมดุลนั้นเอง" 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราขาดธาตุไหน หรือควรลดธาตุไหน Love Food & Health จะขอนำเสนอในตอนต่อไป

ที่มา : หนังสืออโรคยา คาถารักษาโรคและสมุนไพรใกล้ตัว (อ้างอิงตำราของ เที่ยง ชะนะรัง)

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 1)


มีใครเคยรู้สึกผิดหลังจากที่กินเค้กไปก้อนโตๆ บ้างไหมครับ ลองมาดูข้อมูลที่ทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายไว้อย่างมีเหตุผล และทำให้เรากินของหวานในมื้อต่อไปได้อย่างสบายใจขึ้นครับ


ของหวาน (บางอย่าง) สำหรับมื้อเช้า ถือว่าเป็นอาหารหลักเพื่อสุขภาพ

หลายๆ คนตอนยังเด็กๆ หรือแม้แต่ทุกวันนี้อาจจะได้ยินแม่เราพูดบ่อยๆ ว่าอย่างเพิ่งกินขนมหวาน หรือของหวาน จนกว่าเราจะกินข้าว กินผัก หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดูเหมือนจะเป็นอาหารมื้อหลักๆ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณแม่เราอาจจะต้องตกใจเป็นแน่

จากการวิจัยของ Tel Aviv University ได้ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 200 คน ให้รับประทานอาหารที่ มีแคลลอรี่ต่ำ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 100 คน กลุ่มแรกให้ทานอาหารเช้าที่มีพลังงาน 600 แคลลอรี่ ซึ่งประกอบไปด้วย คุกกี้, เคก, หรือ โดนัท ในขณะอีกกลุ่มให้ทานอาหารที่มีพลังงานเพียง 300 แคลลอรี่ ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนล้วนๆ ได้แก่ ทูน่า, ไข่ขาว, ซีส และนม 


ผลของการวิจัยออกมาว่า กลุ่มแรก ที่ทานของหวาน มีความรู้สึกต้องการอาหาร หรือมีความหิว ระหว่างวันลดลง และแน่นอนทั้งสองกลุ่มตัวอย่างน้ำหนักลดเหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า สาเหตุที่กลุ่มแรกน้ำหนักลดได้เนื่องจาก การรับประทานอาหารที่มีปริมาณ แคลลอรี่สูงในช่วงเช้า เป็นการให้พลังงานกับร่างกายตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงสิ้นสุดของวัน โดยที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องการพลังงานเพิ่มอีก แต่ทั้งนี้ของหวานที่รับประทานควรเป็นของหวานที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วงแบบไทยๆ หรือแพนเคกกล้วยหอมลาดน้ำผึ้งอย่างฝรั่งๆ ก็ไม่เลวนะครับ แต่ควรงดเว้นของหวานที่มีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัว น้ำตาลทรายที่มากเกินไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรทานให้อยู่ในประมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปครับ ส่วนเหตุผลข้อต่อไป สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ 8 เหตุผลดีๆ ที่ของหวาน  ไม่ได้เป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพเสมอไป (ตอนที่ 2)

ที่มา : http://www.rd.com/health/healthy-eating/reasons-eat-dessert/

พฤติกรรมการรับประทานอาหารว่างของคนเอเชีย

Love Food & Health ขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารว่างของคนเอเชียจากผลสำรวจของ YouGov พบว่า

91% มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารว่าง
24% คือรับประทานอาหารว่างในแต่ละวัน (ติดอาหารว่าง) โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง (57%)

2 ประเทศอันดับต้น ๆ ที่มีการติดอาหารว่างมากที่สุดคือ อินโดนีเซีย (24%) และออสเตรเลีย (17%)


ที่มา : https://th.yougov.com/th/news/2015/04/29/snacking-th/





วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ธาตุทั้ง 4 (ตอนที่ 1)

ร่างกายของคนเราประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ และ ลม 



ธาตุดิน

ได้แก่ อวัยวะส่วนต่างๆ ทั้งที่มองเห็นภายนอก และภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ อาทิเช่น ผม ขน เล็บ ผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร หัวใจ ปอด ม้าม เส้นเอ็น ฟัน ลิ้น เป็นต้น

ธาตุน้ำ

ได้แก่ ส่วนประกอบที่เป็นน้ำทั้งหมดในร่างกาย เช่น เลือด น้ำดี เสลด เหงื่อ น้ำลาย น้ำเหลือง ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำหล่อลื่นข้อ น้ำตา เป็นต้น

ธาตุลม 

ได้แก่ ลมหายใจ ลมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง เช่นลมที่ช่วยขับเคลื่อนอาหารไปตามลำไส้ หรือลมที่ช่วยให้หัวใจเต้น สูบฉีดเลือดไปตามเส้นเลือดน้อยใหญ่ เป็นต้น

ธาตุไฟ

ได้แก่ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไฟที่เผาผลาญอาหารให้ย่อย ไฟที่ทำให้ร่ายกายทรุดโทรม


ธาตุทั้ง 4 นี้ เมื่อมีความสมดุลกันจะทำให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ถ้าเมื่อใดธาตุทั้ง 4 นั้นเสียความสมดุล ร่างกายก็จะมีปัญหา เกิดอาการไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น เหมือนกับเครื่องจักรที่อะไหล่ดี ไม่มีอะไรชำรุด เครื่องยนต์ก็ทำงานปกติ แต่ถ้าอะไหล่ตัวใดตัวหนึ่งเสื่อมสภาพลงไป ก็จะทำให้เครื่องนั้นทำงานติดขึด จนถึงเครื่องดับไปเลยก็มี

ร่างกายเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าธาตุในร่างกายเสียสมดุลไปก็จะทำให้ร่างกายมีปัญหา เจ็บไข้ได้ป่วยหนักบ้างน้อยบ้างตามส่วนที่บกพร่อง

ดังนั้นการรักษาสมดุลของธาตุทั้ง 4 จึงมีความจำเป็นวิธีรักษาสมดุลของร่างกายเราที่ง่ายที่สุด คือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายตามความเหมาะสม ทำจิตใจให้สดใส แค่นี้เราก็มีสุขภาพที่ดี มีธาตุที่สมดุล แต่ถ้าเกิดเราเจ็บป่วยขึ้น แสดงว่าเราจำเป็นต้องปรับสมดุลให้กับธาตุทั้ง 4

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรปรับธาตุทั้ง 4 : ธาตุทั้ง 4 (ตอนที่ 2)

ที่มา : หนังสืออโรคยา คาถารักษาโรคและสมุนไพรใกล้ตัว (อ้างอิงตำราของ เที่ยง ชะนะรัง)
ขอบคุณภาพจาก www.samunpri.com

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคคลั่งคลีน

"คลั่งคลีน" คืออะไร

โรคนี้เกิดจากอาการป่วยทางจิตที่เคร่งครัดเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์มากเกินไป คือ ไม่กินคาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำตาล บางคนถึงขั้นตัดขาดไขมันและโปรตีน เพราะมีความเชื่อว่าสารอาหารเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ถ้าวันไหนเผลอกินไป วันรุ่งขึ้นต้องออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งสุดทายแล้วจะนำไปสู่ความเครียด ฟังแล้ว โรคนี้มีอาการคล้ายกับ "อะนอเร็กเซีย" ต่างกันตรงที่คน "คลั่งคลีน"​จะไม่ยอมแตะอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรด โปรตีน แต่ยังคง กินผักหรือผลไม้ได้บ้าง ขณะที่ "อะนอเร็กเซีย" แทบไม่แตะอาหารเลย


"การกินที่ถูกต้องควรกินอย่างไร"

การกินที่ถูกต้องควรกินให้ครบ 5 หมู่ โดยอาหารต้องสดสะอาด ไม่มีผงชูรสหรือสารกันบูด ควรดูว่าตัวเองมีน้ำหนักส่วนสูงเท่าไหร่ รวมถึงมีโรคประจำตัวหรือไม่ เพื่อคำนวณว่าร่างกายต้องการพลังงานเท่าไหร่ อีกทั้งควรปรับการกินอาหารให้ถูกต้อง เช่น ในกรณีที่คุณชอบคาร์โบไฮเดรต ก็ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบที่ยังไม่ขัดสี ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างพอประมาณ การกินที่ถูกต้องควรเดินทางสายกลาง อย่าให้ถึงกับ "ใส้สะอาด แต่สุขภาพแย่"



ที่มา: คอลัมน์ HEALTH CHECKUP นิตยสารแพรว ฉบับที่ 890